วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โลกของเทวดาคราวเดียว บาลีโคกแห่งสำนักนาป่าพง



http://youtu.be/5of8LSqtEuI


การแปลบาลีโคกแบบนาป่าพง ของ พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

สกทาคามี โหติ สกิเทว อิมํ โลกํ อาคนฺตฺวา
คำแปลตามความเห็นของพระคุณท่านที่ปรากฏในเอกสารประกอบคำบรรยายเป็นดังนี้
สกทาคามี = ผู้มาถึงคราวเดียว
โหติ = มีเป็น
สกิเทว = เทวดาคราวเดียว
อิมํ = นี้
โลกํ = โลก (มนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง พรหมบ้าง)
อาคนฺตฺวา = ผู้มาเยือน
สกทาคามี ผู้มาถึงคราวเดียว
โหติ มีหรือเป็น
แต่คราวเดียวนี่ คือโลกไหน
อิมํ นี้
โลกํ โลก
โลกก็ยังเป็นข้อสงสัย
อาคนฺตฺวา แปลว่า ผู้มาเยือน
สกิเทว มันแยกเป็น ๒ คำ
สกิ สกึ แปลว่า หนเดียว คราวเดียว
เทว คือเทวดา แปลอย่างอื่นไม่ได้
สกิเทว จึงแปลว่า เทวดาคราวเดียว
แต่คำนี้ไม่ได้ถูกแปลเข้าไว้ ถ้าถูกใส่เข้าไว้พระสูตรก็จะไม่ขัดกัน สอดรับกันทั้งหมด คือมาถึงโลกนี้คราวเดียว คือโลกอะไร 

เทวดาคราวเดียว ผู้มาเยือนโลกนี้ คือเทวดาคราวเดียว ก็คือเป็นผู้มาถึงคราวเดียว เทวดา ไม่ใช่โลกมนุษย์  เพราะฉะนั้น อันนี้ก็ผิดกันทั่วประเทศเหมือนกัน เพราะตำรามันเป็นอรรถกถาทั้งหมด  นี่มันเป็นปัญหาอย่างนี้

ท่านคึกฤทธิ์อุตส่าห์เหยียบหัวอรรถกถาเพื่อยืนเหนืออรรถกถา แล้วชี้มาว่า อรรถกถาผิด แปลผิดกันทั่วประเทศ  ข้าพเจ้าว่าท่านน่าจะพูดว่า แปลผิดกันทั่วโลกมากกว่า เพราะทั้งโลกเขาแปลแบบนี้

ด้วยเหตุที่ท่านผูกคำว่า สกิเทว ไว้แล้วว่า เทวดาคราวเดียว ท่านจึงต้องแปล โลกํ (โลกัง) ให้หมายถึงโลกเทวดา โดยท่านไม่ได้ศึกษาปริบทของพระพุทธวจนะเลย

ในจูฬโคปาลสูตร พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้

เป็นพระสกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

คำว่า “โลกนี้”  อิมํ โลกํ  ถ้าจะตีความว่าโลกไหน จะต้องดูปริบทของพระสูตรนั้นว่าพระพุทธเจ้าตรัสที่ไหน  ซึ่งต้องอาศัยคำพระอานนท์เป็นผู้เล่าเรื่องราว  ด้วยท่านคึกฤทธิ์ มีความเห็นว่า คำพระอานนท์ไม่สำคัญ จึงตัดคำพระอานนท์ออกไป ไม่ใส่ใจว่า พระอานนท์เล่าเรื่องราวนิทานท้องเรื่องไว้ว่าอย่างไร (คำว่านิทาน ไม่ได้แปลว่าเรื่องแต่งขึ้น แต่แปลว่า ต้นเหตุ มูลเหตุ ที่ไปที่มา)

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เมืองอุกกเวลา แคว้นวัชชี.

ในสรกานิสูตรที่ ๑  พระอานนท์เล่าอย่างนี้
กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า สรกานิ สิ้นพระชนม์  พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา

เป็นอันชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องนี้ที่โลกมนุษย์ ดังนั้น คำว่า โลกนี้ จึงหมายถึง โลกมนุษย์ จึงต้องเอาพระสูตรนี้เป็นหลัก และหากพระพุทธเจ้าไปตรัสเรื่องนี้ที่เทวโลก พระสูตรจะต้องบ่งชัดว่า ทรงตรัสที่เทวโลก ท่านอย่าคิดเองเออเอง ท่านจะต้องเอาพระสูตรมาให้ข้าพเจ้าดูว่า พระพุทธเจ้าตรัสโลกนี้ที่เทวโลก  ท่านต้องอย่าดูพระสูตรเดียว
ตรรกะง่ายๆ ในการพิจารณาสถานที่  หากท่านกำลังนั่งอยู่วัดนาป่าพง และพูดว่า   “ไม่ต้องไปวัดไหนดอกโยม มาวัดนี้แหล่ะ”  ท่านคงไม่ได้หมายถึงให้โยมไปวัดสามแยกกระมั้ง หรือว่าท่านหมายถึงอย่างนั้น

หรือถ้าเราจะไล่ใครสักคนออกจากบ้านเรา  เราบอกว่า “อย่าเหยียบมาบ้านนี้อีก”  เราคงหมายถึงบ้านที่เรายืนอยู่ ไม่ได้หมายถึงบ้านอื่น  หรือใครจะเถียงว่าหมายถึงบ้านอื่น ก็ไม่ว่ากระไร

ถ้าพระพุทธเจ้าจะตรัสถึงโลกหลายโลก พระองค์จะทรงตรัสชื่อทุกโลกชัดเจน  ตัวอย่างเช่น โลกสูตร (ตรัสเรื่องโลก)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เป็นผู้อันใครๆ ครอบงำไม่ได้ ผู้เห็นแจ้งโดยแท้ ยังอำนาจให้เป็นไป เพราะฉะนั้น โลกจึงเรียกว่า ตถาคต ฯ

ดังนั้น การที่ท่านตีความเอาเองแบบพูดเอง เออเอง โดยไม่ดูพระสูตร ทำตนเป็นพระอรรถกถาจารย์ อธิบายเอาเองแล้วเมื่อผิดหรือตอบเขาไม่ได้ ท่านก็ไม่รับผิดชอบในคำพูดตน แต่บอกโยมว่า อาตมาวิเคราะห์ อย่าถือคำอาตมา คงต้องนิมนต์พระเกษมมาพูดกับท่านว่า


“มึงเปิดสำนักหาพ่อมึงเหรอ  คนเขาก็ถือมึงน่ะสิ”

ไม่มีความคิดเห็น: