หลักฐานคลิปที่ท่านคึกฤทธิ์ยืนยันว่า เสาอโศกบันทึกคำสอนของพระศาสดา
เสาอโศกเกี่ยวอะไรกับปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้าพเจ้ารู้สึกงง กับคำกล่าวของสาวกท่านคึกฤทธิ์เอามากๆ
ข้าพเจ้าเชื่อแล้วว่า
คนโง่ที่ขาดหลักพิจารณาและพร้อมจะเชื่อทันที
รวมถึงพวกที่มีอคติในใจต่อพุทธศาสนาทั้งหลายโดยขาดการแยกแยะ
จะเทไปเป็นสาวกท่านคึกฤทธิ์หมดจริงๆ ตั้งแต่ดูเรื่องท่านคึกฤทธิ์มา
ยังไม่เคยเจอสาวกที่มีความรู้จริงในเรื่องที่พูดเลยแม้แต่คนเดียว
ขนาดครูโจที่ถือว่าเก่งสุดๆ ยังมั่วบาลี ชนิดบาลีโคกอีแร้งยังอาย
สาวกท่านคึกฤทธิ์คนนี้จะรู้มั้ยหนอว่า
เสาอโศกนั้นจารึกอะไร จึงไปเที่ยวหา ๒๒๗ ที่เสาอโศก
เสาอโศกไม่มีการบันทึกคำสอนใดๆ
ไม่มีพุทธวจนะใดๆ มีแต่ "อโศกวจนะ"
ที่พระเจ้าอโศกประกาศว่าท่านได้ค้นพบสังเวชนียสถานและคุณของพระศาสดา
แต่ท่านคึกฤทธิ์ไปหลอกสาวกอย่างไร สาวกจึงเชื่อสนิทใจ ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็น
ไม่เคยอ่านเสาอโศกเลย ถ้าวันไหนข้าพเจ้าได้เจอท่านคึกฤทธิ์จะถามประเด็นนี้ด้วย
เอาหลักฐานที่สาวกคนนี้โพสต์นี่หล่ะไปถามท่านคึกฤทธิ์
ความรู้เรื่องเสาอโศก
เสาหินพระเจ้าอโศก
สร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และเพื่อระบุสถานที่ตั้งที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ลักษณะของเสาหิน
เป็นหินทรายจากเมืองจุณนา ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย
หินทรายจากเมืองจุณนานี้ เป็นที่ยอมรับกันว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น ทุกเสาที่สร้างจะมีหัวสิงห์แกะสลักสวยงาม
ประดิษฐานอยู่บนยอดหัวเสา
ซึ่งหัวสิงห์นี้เป็นสัญลักษณ์ถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดั่งราชสีห์
และแผ่ไปไกลดุจเสียงคำรามของราชสีห์
ตามตัวเสาจะมีคำจารึกกล่าวถึงความสำคัญของสถานที่ที่เสาหินนั้นตั้งอยู่ หรือบางเสาก็เป็นคำบอกเล่าและเป็นประกาศพระราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช
สำหรับคำจารึกที่พบเห็นอยู่โดยรอบเสาศิลานั้น
นายเจม ปรินส์เซฟ นักอักษรศาสตร์ ชาวอังกฤษ ใช้เวลาถึง ๗ ปี
ในการถอดรหัสอักษรพรหมมีของพระเจ้าอโศกที่สลักไว้รอบต้นเสาหินได้
แปลความหมายได้ว่า “ พระเจ้าอยู่หัวปิยทัสสี (อโศก) ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ
ได้มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศแก่มหาอำมาตย์ทั้งหลาย ณ นครปาฏลีบุตรและนครอื่น ๆ
ว่า ข้าพเจ้าได้กระทำให้สงฆ์มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว บุคคลใด ๆ
จะเป็นภิกษุ ภิกษุณีก็ตาม ก็ไม่อาจทำลายสงฆ์ได้ ก็แล หากบุคคลใด
จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม จักทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน บุคคลนั้น
จักต้องถูกบังคับให้นุ่งผ้าขาว และไปอาศัยอยู่ ณ สถานที่อื่น (นอกวัด)
พึงแจ้งสาส์นพระบรมราชโองการนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน
ด้วยประการฉะนี้....พระเจ้าอยู่หัวปิยทัสสี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
ประกาศพระบรมราชโองการเช่นนี้ ท่านทั้งหลายพึงนำไปติดไว้ ณ
ทางสัญจรภายในเขตใกล้เคียงของท่านทั้งหลายฉบับหนึ่งและจงเก็บรักษาอันเดียวนี้ไว้ในเขตใกล้เคียงของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายอีกฉบับหนึ่ง
ทุก ๆ วันอุโบสถ บรรดาอุบาสก อุบาสิกาเหล่านั้น พึงทำตนให้มีความรู้ความเข้าใจแนบแน่น
ในประกาศพระบรมราชโองการนี้ และทุก ๆ วันอุโบสถ มหาอำมาตย์ ทุก ๆ คน
พึงไปร่วมในการรักษาอุโบสถด้วยเป็นประจำ เพื่อจักได้ความคุ้นเคยแนบสนิท
และรู้เข้าใจทั่วถึงซึ่งประกาศพระบรมราชโองการนั้นแล ทั่วทุกหนทุกแห่ง
ที่อำนาจบริหารราชการของท่านทั้งหลายแผ่ไปถึง ท่านทั้งหลายพึงขับไล่
บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ ในเมืองด่าน และในท้องถิ่นทั้งหลายออกไปเสีย
โดยให้เป็นไปตามข้อความในประกาศนี้...ฯ “ ด้านล่างมีอักษรเทวนาคี แปลได้ว่า
“ความจริงเท่านั้นมีชัยชนะเหนือทุกสิ่ง ”
เสาอโศกต้นไหนที่มีพระสูตรตามที่อ้างว่านำมาทำพุทธวจนปิฎก ท่านคึกฤทธิ์ต้องตอบ จะมาโกหกประชาชนคำโตแบบหน้าตาเฉยไม่ได้
1. เสาอโศกที่อัลลาหะบาด (Allahabad)
เดิมทีเชื่อว่าตั้งอยู่ที่เมืองโกสัมพี
2. เสาอโศกที่พุทธคยา (Bodhgaya)
3. เสาอโศกที่เดลี (Delhi) จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ต้น เดิมทีนั้นเสาทั้งสองตั้งอยู่ที่เมืองเมรัฐ และ เมืองโทปรา ในรัฐหรยานะ ต่อมา พระเจ้าเฟโรซ ชาห์ ตุฆลัก (Firuz Shah Tughlug) กษัตริย์ราชวงศ์โมกุล ทรงมีพระบัญชาให้ย้ายเสาทั้งสองต้นมาไว้ที่ กรุงเดลี เมื่อพ.ศ.1899 (ค.ศ.1356)
4. เสาอโศกที่เลาริยะ-อเรราช (Lauriya-Areraj)
5. เสาอโศกที่เลาริยะ-นันทครห์ (Lauriya-Nandangarh)
6. เสาอโศกที่สวนลุมพินี (Lumbini) เมืองกุสินารา (กุสินคร)
7. เสาอโศกที่นิกาลีสการ์ (Nigalisagar)
8. เสาอโศกที่รามปุรวะ (Rampurva) หรือ รามปุระ(Rampur)
9. เสาอโศกที่สาญจี (Sanchi) เมืองโภปาล
10. เสาอโศกที่สันกิสาร์ (Sankissa) หรือ สังกัสสะ(Sankasa)
11. เสาอโศกที่สารนาถ (Sarnath) ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
12. เสาอโศกที่สาวัตถี (Sravasti)
13. เสาอโศกที่เวสาลี (Vaishali)
2. เสาอโศกที่พุทธคยา (Bodhgaya)
3. เสาอโศกที่เดลี (Delhi) จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ต้น เดิมทีนั้นเสาทั้งสองตั้งอยู่ที่เมืองเมรัฐ และ เมืองโทปรา ในรัฐหรยานะ ต่อมา พระเจ้าเฟโรซ ชาห์ ตุฆลัก (Firuz Shah Tughlug) กษัตริย์ราชวงศ์โมกุล ทรงมีพระบัญชาให้ย้ายเสาทั้งสองต้นมาไว้ที่ กรุงเดลี เมื่อพ.ศ.1899 (ค.ศ.1356)
4. เสาอโศกที่เลาริยะ-อเรราช (Lauriya-Areraj)
5. เสาอโศกที่เลาริยะ-นันทครห์ (Lauriya-Nandangarh)
6. เสาอโศกที่สวนลุมพินี (Lumbini) เมืองกุสินารา (กุสินคร)
7. เสาอโศกที่นิกาลีสการ์ (Nigalisagar)
8. เสาอโศกที่รามปุรวะ (Rampurva) หรือ รามปุระ(Rampur)
9. เสาอโศกที่สาญจี (Sanchi) เมืองโภปาล
10. เสาอโศกที่สันกิสาร์ (Sankissa) หรือ สังกัสสะ(Sankasa)
11. เสาอโศกที่สารนาถ (Sarnath) ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
12. เสาอโศกที่สาวัตถี (Sravasti)
13. เสาอโศกที่เวสาลี (Vaishali)
ท่านคึกฤทธิ์อ่านและแปลอักษรพราหมีเป็นตั้งแต่เมื่อไหร่
ขนาดบาลีอักษรไทยยังแปลไปได้ สกิเทว เทวดาคราวเดียว
ไม่ได้ดูถูก แต่ดูไม่ผิด
งานนี้ท่านคึกฤทธิ์เจออ่านเสาอโศกแน่นอน
เรื่องราวของพระเจ้าอโศกมหาราช ไม่ใช่พุทธวจนะ แต่เจ้าสำนักเข้ารกเข้าพง บาลีโคกอีแร้ง สาขาคลองสิบ ก็เชื่อคำแต่งใหม่ (โดยพระเจ้าอโศกผ่านพระอรรถกถาจารย์) เป็นตุเป็นตะ
ในขณะที่ท่านคึกฤทธิ์และสาวกปฏิเสธอรรถกถา เรื่องราวของพระเจ้าอโศกก็ถูกเล่าต่อและบันทึกในอรรถกถาโดยพระอรรถกถาจารย์ พระฎีกาจารย์ จากหลักฐานใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา และ ฎีกาสารัตถทีปนี
น่าอายมั้ยท่านคึกฤทธิ์ ถ่มน้ำลายรดฟ้าแล้วตกลงมาใส่หน้าตัวเอง ตัวท่านเคยตามรอยเสาอโศกจริงๆ ท่านมีปัญญาอ่านจารึกเสาอโศกอักษรโบราณจริงๆ หรือเปล่า ท่านหลอกชาวบ้านแล้วยังหลอกตนเองอีก
ที่สำคัญ ท่านนำเอาเรื่องราวของเสาอโศกมาบิดเบือนให้เสียองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์
ท่านพุทธทาสยังไม่เคยกล่าวเลยว่า ท่านได้งานจากพระโอษฐ์มาจากเสาอโศก หรือกล่าวในทำนองว่า เสาอโศกมีจารึกพุทธวจนะ ถ้าท่านคึกฤทธิ์พิสูจน์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่าน โกหกหลอกลวงประชาชน อีกคำรพหนึ่ง
อ่านงานท่านพุทธทาสเกี่ยวกับเสาอโศก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น