วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การบันทึกพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก เกิดขึ้นหลังยุคพระเจ้าอโศก

พระเจ้าอโศกมหาราช มีชีวิตอยู่ในราวปี พ.ศ. ๒๔๐ ๓๑๒  ซึ่งขณะนั้น ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกด้วยการสวดขึ้นพร้อมกัน (ถ้าท่านนึกไม่ออก ขอให้นึกถึงการท่องสูตรคูณพร้อมกันของนักเรียนในชั้นเรียน) โดยนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าและเหตุการณ์ต่างๆ ที่พระมหาเถระทั้ง ๕๐๐ รูป โดยมีพระอุบาลี พระอานนท์ ทำการวิสัชนา (ตอบ) พระสูตรและพระวินัย  ด้วยเหตุที่พระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค จึงเป็นผู้ใกล้ชิดได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาคทั้งหมด แม้พระองค์ทรงแสดงธรรมที่ใดที่พระอานนท์มิได้ไปด้วย มิได้อยู่ด้วย ก็จักทรงกลับมาตรัสให้พระอานนท์ฟังทุกครั้ง  (หากท่านคึกฤทธิ์ปฏิเสธข้อความนี้ เท่ากับท่านปฏิเสธพระสูตรทั้งหมด เพราะพระสูตรทั้งหมดได้รับการบอกเล่าผ่านปากพระอานนท์) 

ส่วนพระอุบาลี เป็นพระอรหันต์ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้ทรงพระวินัย พระอุบาลีจึงเป็นผู้ทรงจำพระวินัยไว้ทั้งหมดอย่างแม่นยำ แต่ท่านกลับปฏิเสธปาฏิโมกข์ซึ่งพระอุบาลีวิสัชนาไว้ว่าให้ยกขึ้นแสดงจำนวน ๒๒๗ ข้อ

การทำสังคายนาครั้งแรกเกิดขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ๓ เดือน ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู โดยมีพระมหากัสสปเถระทำหน้าที่เป็นประธาน และเป็นผู้คอยซักถาม มีพระอุบาลีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย และมีพระอานนท์เป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อธรรม การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระอรหันต์มาประชุมร่วมกันทั้งหมด ๕๐๐ รูป ดำเนินอยู่เป็นเวลา ๗ เดือน จึงเสร็จสิ้น ไม่ปรากฏการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในการสังคายนาครั้งนี้

ส่วนการบันทึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๔๓๓ ที่อาโลกเลนสถาน ณ มตเลชนบท ในประเทศศรีลังกา องค์อุปถัมภ์คือพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย การทำสังคายนาครั้งนี้เพื่อต้องการจารึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรลงในใบลาน ใช้เวลา ๑ ปี จึงสำเร็จ  การจารลงในใบลานจารด้วยอักษรสิงหลของลังกาทวีป 

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า การจารพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นหลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จสวรรคตแล้ว


พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล กล่าวว่า  เสาอโศกเป็นที่บันทึกพุทธวจนะ  เอาที่ไหนมากล่าว หลักฐานอยู่ที่ไหน  ข้าพเจ้าเชื่อว่า  ถ้าเรื่องนี้ กระจายไปในหมู่ชาวพุทธไทย คงมีชาวพุทธหลายท่านต้องการพิสูจน์คำของท่าน ด้วยการลงขันซื้อตั๋วเครื่องบินให้ท่านพาไปชี้เสาอโศกต้นที่มีการบันทึกพุทธวจนะ ที่ท่านยืนยันอย่างขันแข็งว่า ถูกนำมารวบรวมไว้เป็น “พุทธวจนปิฎก” ของท่าน อย่างแน่นอน  ที่เหลือคือ  ท่านกล้าหรือไม่ที่จะพิสูจน์

ไม่มีความคิดเห็น: