วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ข้อบ่งชี้ว่าคิกฤทธิ์ ไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาท

ข้อบ่งชี้ว่าคึกฤทธิ์มั่วปฏิจจสมุปบาท คือคำแต่งใหม่ของคึกฤทธิ์ว่า "สัตตานังไปเกาะขันธ์ห้า"
คึกฤทธิ์สอนคนผิดในเรื่องสำคัญคือเรื่องปฏิจจสมุปบาท

ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทผิด ท่านจะหลงไปในมิจฉาทิฏฐิ คือ หลงไปว่าสัตว์ล่องลอยไปเกาะโน่นเกาะนี่บ้าง สัตว์ตายแล้วสูญบ้าง

ไม่มีสัตตานังไปเกาะอะไรทั้งนั้น มีแต่เหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ไปเกิด ดังพระพุทธวจนะว่า

"วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี"

พระพุทธเจ้าสั่งนักสั่งหนาว่า เวลาจะอธิบายปฏิจจสมุปบาท ให้อธิบายปัจจัยการด้วย  เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา  เป็นศาสนาแห่งเหตุผล คือ เหตุ ปัจจัย  ดังที่ตรัสสั่งกับพระอานนท์

ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร

ดูกรอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า ชรามรณะ มีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่าชรามรณะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีชาติเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่าชาติมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี 
ถ้าเขาถามว่า ชาติมีอะไรเป็นปัจจัยเธอพึงตอบว่า มีภพเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า ภพมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า ภพมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีอุปาทานเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า อุปาทานมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีตัณหาเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า ตัณหามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า ตัณหามีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีเวทนาเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า เวทนามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีผัสสะเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า วิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่าวิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย

ดูกรอานนท์เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ / พุทธพจน์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค


การเข้าใจปฏิจจสมุปบาทผิด ส่งผลให้ไปในทางผิด ชอบอย่างไหนก็ไปอย่างนั้น ดังคำโบราณว่า "ไปที่ชอบ ที่ชอบ"


ถ้าหากคนที่ยังท่องปฏิจจสมุปบาทผิดๆ ถูกๆ แบบศิษย์วัดนาป่าพงจะเป็นโสดาบันได้ คนที่เข้าใจในปฏิจจสมุปบาทและปัจจัยการทั้งโลก จะไม่อรหันต์กันหมดหรือ  

ชมคลิปศิษย์วัดนาป่าพง ท่องปฏิจจสมุปบาทยังผิด


วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หลักฐานชัดๆ พระคึกฤทธิ์การตัดคำพระพุทธพจน์และนำคำของตนเองใส่แทน กรณีเดรัจฉานวิชา


หลักฐานว่าคึกฤทธิ์และวัดนาป่าพง ตัดคำพระพุทธพจน์ของพระศาสดาออก แล้วใส่ความเห็นของตนลงไป ในเรื่องเดรัจฉานวิชา

สรุปอีกครั้ง อย่างง่าย

หลักฐานชั้นพุทธวจนะ 

เดรัจฉานวิชา คือ การเลี้ยงชีพผิดด้วย ทำนาย ปลุกเสก ปรุงยา ฯลฯ

การกระทำใดๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อเลี้ยงชีพผิดของภิกษุ ไม่ใช่เดรัจฉานวิชา แต่เป็น "วิชา" เช่น วิชาทำนาย วิชาดูยาม วิชาปรุงยา

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เลี้ยงชีพผิด ด้วยเดรัจฉานวิชา / ติรจฺฉานวิชฺชาย มิจฺฉาชีเวน" ไม่ได้ตรัสว่า "ทำเดรัจฉานวิชา"
 มิจฺฉาชีเวน แปลว่า เลี้ยงชีพผิด, เลี้ยงชีพโดยผิดทาง, เลี้ยงชีพโดยทางผิด ไม่ได้แปลว่า "ทำผิด" 
เลี้ยงชีพผิดกับทำผิดนั้นต่างกัน เพราะการทำโดยไม่เลี้ยงชีพก็มี หากจะตรัสถึงการทำ ก็จะทรงตรัสว่า "ทำ" ไม่ตรัสว่าเลี้ยงชีพ เช่น "ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว"

องค์ประกอบของเดรัจฉานวิชา คือ
๑. ภิกษุ
๒. เลี้ยงชีพผิด
๓. ด้วยเดรัจฉานวิชา มี ฯลฯ

ถ้าฆราวาสเลี้ยงชีพด้วยวิชาปรุงยาอย่างหมอชีวก สหายแพทย์ ศิษย์ของหมอชีวก ไม่เรียกว่า "เดรัจฉานวิชา" เพราะขาดองค์ประกอบในข้อเป็นภิกษุ ผลคือไม่ขวางทางนิพพาน เพราะท่านสามารถบรรลุโสดาบัน เป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพานได้

กรณีฆราวาสเลี้ยงชีพผิดด้วยการหลอกลวง เช่น  หลอกลวงดูดวง  หลอกลวงต่างๆ ไม่เรียกว่าเดรัจฉานวิชา เพราะเดรัจฉานวิชาจะมีได้เฉพาะในภิกษุเท่านั้น เนื่องจากภิกษุเป็นผู้เลี้ยงชีพด้วยการขอที่ชาวบ้านให้ด้วยศรัทธา หากใช้วิชาใดๆ ก็ตามเพื่อหาเลี้ยงชีพ จึงนับว่าเป็นการเลี้ยงชีพผิด ส่วนชาวบ้านที่เลี้ยงชีพผิดด้วยการหลอกลวง เรียกว่า “มิจฉาอาชีวะ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกงการล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภนี้มิจฉาอาชีวะ ฯ”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3846&Z=3923&pagebreak=0

ภิกษุ ถ้าใช้วิชา ฯลฯ โดยไม่เลี้ยงชีพด้วยวิชาเหล่านั้น ไม่เรียกว่าเดรัจฉานวิชา เพราะขาดองค์ประกอบในข้อเลี้ยงชีพผิด เช่น ภิกษุที่นำบาตรไม้ไปบดปรุงยาตามคำสั่งพระพุทธเจ้า และภิกษุผู้ปรุงยารักษากันตามพุทธานุญาต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทำลายบาตรไม้นั่น บดให้ละเอียด ใช้เป็นยาหยอดตาของภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ


สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยรากไม้ที่เป็นเภสัชชนิดละเอียด จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตัวหินบด ลูกหินบด."

[๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยยาผงที่กรองแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัตถุเครื่องกรองยาผง."

ภิกษุอาพาธมีความต้องการด้วยยาผงที่ละเอียด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองยา."


ดังนั้น การที่วัดนาป่าพงถามว่า "ถ้าภิกษุ ไม่เลี้ยงชีพผิด ก็สามารถทำเดรัจฉานวิชาได้หรือ"


คำถามนี้ไม่ถูกต้อง เพราะ ถ้าไม่เลี้ยงชีพผิด จะไม่เป็นเดรัจฉานวิชาเลย ไม่มีประเด็นว่าทำได้หรือไม่ได้แต่อย่างใด

ตอบคำต่อคำ กรณีพระคึกฤทธิ์พูดถึงการเรียนบาลี

คำต่อคำ คึกฤทธิ์ ต่อกรณีการเรียนบาลี
พระคึกฤทธิ์: ไม่มีอะไรโยม เก่งบาลี เค้ามีอะไรเป็นเกนฑ์ เกณฑ์ที่เขามีก็เป็นเกณฑ์ที่ตั้งขึ้น เปรียญ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ มันตั้งขึ้นมาหมดน่ะ มีมั้ยล่ะ สารีบุตรได้ เปรียญ ๙ รึยัง (สังเกตว่า มีหลายครั้ง ที่เอ่ยนามพระสารีบุตรโดยเรียกชื่อเฉยๆ - ผู้โพส) ก็ไม่น่ะโยม ใช่มะ ทำไมไม่พูดหลักการพระศาสดา การเชื่อมธรรมะพระศาสดา ในเมื่อเค้าศึกษาอรรถกถา หลักการนี้เค้าใช้ไม่ได้ เค้าจะไม่มีใช้หลักการนี้ เพราะหลักการนี้ใช้ได้กับคำของสัมมาสัมพุทธะผู้เดียวเท่านั้นในโลก เมื่อหลักการนี้ใช้ไม่เป็น ใช้ไม่ได้ เพราะเนื้อหาที่เขาศึกษามันไม่ใช่เนื้อหาของสัมมาสัมพุทธะ มันไม่สามารถเอามาเชื่อม มาเทียบเคียง เอ๊ ทิฏฐิ ๖๒ อาจารย์นั้นพูดยังไง หลวงปู่นั้นพูดยังไง ไม่สามารถหาได้ นะ สาวกแต่ละคนพูดไม่ครบ และการปรุงแต่ขึ้นมาเอง ม้น ไม่ได้ ระดับพระพุทธเจ้า ต้องกำหนดสมาธิทุกครั้ง ในการพูด แล้วสาวกทำได้มั้ย สิบพระสูตรไม่แน่น เมื่อสิบพระสูตรไม่แน่นเนี่ย มันก็เซ เซไปหาคำสาวกไง ถ้าสิบพระสูตรแน่ชัด คำสาวกมันจะหมดราคาไปทันที นั่นคือ เค้าต้องย้อนไปหาคำสิบพระสูตรใหม่ ว่าเค้าเนี่ย ไม่เชื่อความสามารถพระพุทธเจ้า ว่าเค้าเนี่ย ไม่แน่น ไม่มั่นคง ใช่ม้า เรื่องมันง่ายๆ สาวกคนใดล่ะ กำหนดสมาธิได้ พุดสอดรับไม่ขัดแย้งกัน พูดเป็นอกาลิโก ก็ไม่มีอยู่แล้ว ใช่มะ อย่างเนี่ย

ตอบคึกฤทธิ์ทุกประเด็น ดังนี้
- เมื่อผู้ถาม ถามว่า คนเก่งบาลีเป็นอย่างไร ก็ควรตอบด้วยหลักการด้านภาษาศาสตร์ว่า คนเก่งด้านภาษาไม่ว่าจะภาษาอะไร จะต้องเป็นผู้ ฟังเข้าใจ พูดได้ อ่านออก เขียนได้ แปลเป็น
แต่ที่คึกฤทธิ์ไม่ตอบแบบนั้น เป็นเพราะตนเองฟังไม่เข้าใจ พูดไม่ได้ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แปลไม่เป็น

- พระสารีบุตร (คึกฤทธิ์เรียกว่าสารีบุตร) ไม่ต้องเรียนเปรียญ 1-9 เพราะท่านเป็นเจ้าของภาษา เกิดในขณะที่ใช้ภาษามคธ (บาลี) เป็นภาษาแม่อยู่แล้ว

- หลักเกณฑ์การวัดความเก่งด้านภาษา เป็นหลักเกณฑ์สากลทั่วโลกที่ใช้กันอยู่ และเป็นสัจจะคือเป็นความจริง ไม่จำเพาะแต่ภาษาบาลี

- การเชื่อมพระสูตรด้วยวิธีการของคึกฤทธิ์ จะถูกหรือผิด พระพุทธเจ้าไม่ได้รับรอง ไม่มีพุทธวจนะรับรองการเชื่อมพระสูตรของคึกฤทธิ์ การเชื่อมพระสูตรของคึกฤทธิ์จึงเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จะไปบอกว่าตนเชื่อมถูกไม่ได้

- สิบพระสูตร ที่เกิดจากการแต่งเองขึ้นใหม่ของคึกฤทธิ์ ไม่สอดรับกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ผิดทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะและความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีพุทธวจนะรับรองความถูกต้องของแนวคิดสิบพระสูตรของคึกฤทธิ์

- การแปลพระไตรปิฎก หรือพจนานุกรมภาษาบาลีที่คึกฤทธิ์นำมาอ้างใช้ ล้วนเกิดจากการแปลตามอรรถกถา

- พุทธวจนะที่คึกฤทธิ์ยึดถือ ล้วนผ่านการทรงจำของพระสาวกรุ่นต่อรุ่นมาแล้วสองพันกว่าปี จึงทำให้พระพุทธศาสนายืนยงอยู่ได้ในหลายประเทศทั่วโลก

- ความเข้าใจว่าผู้ที่ศึกษาทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา เป็นผู้ที่ไม่เชื่อความสามารถของพระพุทธเจ้า เกิดจากความคิดผิด เข้าใจผิดของคึกฤทธิ์เอง เพราะทุกคนล้วนแต่อ้างคำพระพุทธเจ้าและสามารถนำคำพระพุทธเจ้ามาชี้ความบิดเบือนของคึกฤทธิ์ได้อย่างชัดเจน จนคึกฤทธิ์เถียงไม่ออก และไม่กล้ามาดีเบทกับใคร


- คนที่ไม่มั่นคงในพระพุทธเจ้าคือคึกฤทธิ์ ดังนั้น คึกฤทธิ์จึงมักอธิบายความหมายของพระพุทธวจนะให้ผิดไปจากพุทธประสงค์เสมอ

https://www.youtube.com/watch?v=uP-SGKnV-Dk

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สิกขาบทที่ต้องสวดปาฏิโมกข์ กับการบิดเบือนของวัดนาป่าพง



ความแตกต่างระหว่างสิกขาบทที่ยกต้องสู่อุเทสทุกกึ่งเดือน กับพระบัญญัติที่ต้องรักษาแต่ไม่ต้องยกขึ้นสู่อุเทสทุกกึ่งเดือน

สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าตรัสให้ต้องยกสู่อุเทสทุกกึ่งเดือน (สวดปาฏิโมกข์) จะมีพระบาลีว่า "เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว อิมํ สิกฺขาปทํ อุทฺทิเสยฺยาถ" แปลเป็นภาษาไทยว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้"

ส่วนพระบัญญัติที่ต้องรักษาและปฏิบัติตามแต่ไม่ต้องยกขึ้นสู่อุเทศ (สวดปาฏิโมกข์) ทุกกึ่งเดือน จะไม่มีพระบาลีดังกล่าว

ตัวอย่างเช่น
เสขิยวัตร การนุ่งห่มเป็นปริมณฑล ต้องยกขึ้นสู่ปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน ด้วยมีพระบาลีชัดเจนว่า
"เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว อิมํ สิกฺขาปทํ อุทฺทิเสยฺยาถ ปริมณฺฑลํ นิวาเสสฺสามีติ สิกฺขา กรณียา ฯ "

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล."

ซึ่งแตกต่างจากพระบัญญัติทั่วไปที่ไม่ต้องยกขึ้นสู่ปาฏิโมกข์ เช่น เรื่องการห้ามอุปสมบทกุลบุตรที่ไม่มีจีวร

"น ภิกฺขเว อจีวรโก อุปสมฺปาเทตพฺโพ โย อุปสมฺปาเทยฺย อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺสาติ ฯ"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรไม่มีจีวร ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ต้องอาบัติทุกกฏ."

ดังนั้น สิกขาบทใดต้องยกสู่อุเทส โดยนำมาสวดในวันปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน ให้พิจารณาตามนี้ ข้ออ้างของวัดนาป่าพงที่กล่าวว่า เสขิยวัตรไม่มีปรับอาบัติบ้าง (ปฏิเสธสิกขาบทวิภังค์ว่าไม่ใช่พุทธวจนะ) สิกขาบทที่ต้องยกสู่ปาฏิโมกข์จะต้องมีการปรับอาบัติไว้ เหล่านี้เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นทั้งสิ้น


สรุป สิกขาบทที่ต้องยกสู่ปาฏิโมกข์จะมีพระบาลีว่า "เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว อิมํ สิกฺขาปทํ อุทฺทิเสยฺยาถ" แปลเป็นภาษาไทยว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้" โดยไม่จำต้องคำนึงว่าสิกขาบทนั้นจะมีกี่ข้อก็ตาม ต้องยกขึ้นสู่อุเทสทั้งสิ้น