วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พาหิรกา สาวกภาสิตา





ท่านคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล นำการศึกษาปริยัติธรรมในรูปแบบปฏิเสธคำพระสาวกในพระพุทธศาสนามาสอนประชาชน สอนให้ประชาชนปฏิเสธแม้แต่คำพระสารีบุตร ไม่ให้ฟังคำคนอื่น  จนประชาชนหลงเชื่อในสิ่งที่ท่านสอน  แม้กระทั่งเชื่อว่าเสาอโศกเป็นที่บันทึกพุทธวจนะ ตามคำหลอกลวงของท่านที่กล่าวเพื่อสนับสนุนและชูประเด็นหลักให้สมกับยี่ห้อ “พุทธวจน” ของท่านก็ตาม

และแม้จะมีผู้เชี่ยวชาญบาลีทั้งประเทศมาเพียรอธิบายให้ท่านฟังว่า  พาหิรกา สาวกภาสิตตา นั้น หมายถึง  ภาษิตของสาวกนอกศาสนา เป็นเรื่องนอกแนวนอกคำสอนของพระพุทธองค์ ท่านก็ยังไม่ละทิฐินั้น แต่ “แถ” ไปเรื่อยเปื่อย เริ่มจากเริ่มพูดว่า  ถ้าสาวกกล่าวคำพระพุทธเจ้าแบบก๊อปปี้มาก็ฟังได้  ท่านควรจะกลับไปพิจารณาพระคาถา “เย ธมฺมา”  ว่า พระอัสชิก๊อปปี้พระพุทธเจ้ามาแบบที่ท่านใช้เม้าท์ก๊อปปี้จากพระไตรปิฎกที่ท่านกล่าวตู่ว่ามีคำปลอมหรือเปล่า หรือพระอัสชิกล่าวพระคาถา “เย ธมฺมา”  จากความเข้าใจของตนจนเป็น “พระอัสชิภาษิต”  

ข้าพเจ้าคิดว่า  คงเป็นเพราะท่านขาดความรู้ด้านวรรณคดีศาสนา ท่านจึงไม่เคยเห็น “พาหิรกา สาวกภาสิตา” ของจริง

ท่านคึกฤทธิ์  ได้โปรดทราบและตระหนักเอาไว้ด้วยว่า  ไม่มีใครในโลก รวมถึงประเทศใดในโลกแม้แต่คนเดียว ที่สอนให้พุทธศาสนิกชนของเขาไม่ฟังสาวกภาษิตในพระพุทธศาสนา

พาหิรกา สาวกภาสิตา และบทสวดที่พระพุทธองค์ไม่ทรงให้สวด ไม่ใช่สาวกภาษิตในพระพุทธศาสนา หรือบทสวดบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เช่นบทพาหุง บทชินบัญชร ที่คึกฤทธิ์ใส่ร้ายล้างสมองสาวกของตน

ด้วยความที่ท่านไม่เคยอ่านอรรถกถาแต่กล่าวใส่ร้ายอรรถกถาว่าเป็นคำแต่งใหม่ ท่านช่างมุสา กล้ากล่าวได้อย่างนั้นอย่างน่าไม่อาย  ทั้งๆ ที่อรรถกถาได้เล่าไว้แล้วว่า “พาหิรกา สาวกภาสิตา” คืออะไร



หน้าตาของ พาหิรกา สาวกภาษิตา เป็นอย่างนี้
อักษรเทวนาครี
यदा यदा हि धर्मस्य ग्लानिर्भवति भारत
अभ्युत्थानमधर्मस्य तदात्मानं सृजाम्यहम् ॥४-७॥
กาลใด ฤาแห่งหนใด ที่ปรากฎธรรมะเสื่อมถอย
หรืออธรรมมีอำนาจขึ้น เมื่อนั้น ตูข้าจักสำแดงตนให้ปรากฎ

परित्राणाय साधूनां विनाशाय दुष्कृताम्
धर्मसंस्थापनार्थाय सम्भवामि युगे युगे ॥४-८॥
เพื่อพิทักษ์สาธุชน อีกกำราบทุรชน ตูข้าจึง
ปรากฎกายเพื่อสถาปนาธรรมะ ยุคแล้วยุคเล่า

อักษรไทย
กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺวรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ 
ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพานคือ พรหมโดยทั่วไป.(ศรีมัทภควัทคีตา) บทสรรเสริญยกย่อง

สนฺธยา สฺนานํ ชปศฺไจว เทวตานำ จ ปูชนมฺ,
ไวศวเทวํ ตถา’’ ติถฺยํ ษฏฺ กรฺมาณิ ทิเน ทิเน
การทำสันธยา (กิจพิธีระหว่างวัน) สนาน (อาบน้ำ) ชป (ภาวนา) การบูชาเทวดา ไวศวเทวะ (บวงสรวงแด่เทพยดา) และการต้อนรับแขก (อาติถยํ) กรรมทั้ง ๖ อย่างนี้ พึงกระทำในทุกๆ วัน”

ส่วนบทสวดที่พระศาสดาไม่สรรเสริญการสวด เพราะเป็นการสวดบูชาเทพเจ้า เป็นของนอกศาสนา เป็นอย่างนี้

บทที่ 1. คณะนายะกา ษะฏากามะ ศรีคเณศายะ นามะนะ เอกทันตัง มหากายัง ตัปตะกายาจะนะสันนิภัง ลัมโพทะรัง วิศาลากะสัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก ผู้ซึ่งมีงาข้างเดียว มีพระวรกายอันยิ่งใหญ่ มีผิวพรรณเปร่งประกายเสมือนทองคำ
มีพระอุทร (ท้อง) ใหญ่โต มีเนตรอันไพศาล

บทที่ 2. เมายะชี กฤษณาชินะรัง นาคายะโชญาปวีตินัง พาเลนทุศกะลัง เมาเลาวันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก พระองค์ทรงคาดบั้นพระองค์ (เอว) ไว้ด้วยหญ้าคาและหนังกวางดำมีงูเป็นยัชโญปวีต พระนลาฏ (หน้าผาก) ปรากฏเป็นพระจันทร์เสี้ยว

บทที่ 3. จิตระรัตนะ วิจิตรางคัง จิตระมาลาวิภูษิตัง กามะรูปาธะรัง เทวัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก พระองค์ทรงประดับเพชร พลอยและอัญมณีอันสวยงามสวมมาลัยไว้อย่างสะดุดตา สามารถแปลงรูปร่างได้ตามความประสงค์

บทที่ 4. คัชวักตะรัง สุรเศระษาถัง กัรณาจามะระภูษิตัม ปาศางะกุศะธะรัง เทวัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก พระองค์มีพระพักตร์เป็นช้าง เป็นมหาเทพที่สูงส่งพระกรรณ (หู) ของพระองค์ใช้โบกสะบัดดั่งแส้จามรี พระองค์ทรงอาวุธปาศ และอังกุศ

บทที่ 5. มูษาโกตตะมะมารุหะยา เทวาสุระมหาหะเว โยท-ธุ กามัง มหาวีระยัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก พระองค์มีความเก่งกาจยอดเยี่ยมพระองค์ทรงร่วมทำสงครามระหว่างเทพกับอสูร โดยทรงหลังหนูมุสิกะเป็นพาหนะ

บทที่ 6. ยักษะ กินนาระ คณะธารวะสิทธะวิทยาธะ ไรสะสัททา สะตูนะมานัง มหาพาหุง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก พระองค์ผู้มีพระกรยาว
และได้รับการกราบบูชาจากเหล่ายักษ์ กินนร คนธรรพ์ สิทธิและเหล่าวิทยาธร ด้วยความเคารพสูงสุดตลอดมา

บทที่ 7. อัมพิกา หฤทะยานานะทัง มตูฤภิ ปริเวษะติ ตัง ภักตะปะริยัง มโทนนามัตตัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก พระองค์ผู้เป็นที่พึ่ง มีความจงรักภักดีและเป็นผู้ประทานความสุขแก่พระแม่อุมา
พระองค์ห้อมล้อมไปด้วยมาตฤกาทั้งหลายและมีน้ำมันบริสุทธิ์ปริ่มจากศีรษะ

บทที่ 8. สะระวะวิฆนะหะรังเทวัง สะระวะวิฆวิวะระบะชิตตัง สะระวะสิทธิ ปะระทาตารัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก พระองค์คือเทพผู้ขจัดอุปสรรคทั้งปวงคือเทพผู้ปราศจากอุปสรรคทั้งปวง คือเทพประทานความสำเร็จทุกประการ

บทสรุป. คะณาษะตะกามิทัง ปุณยัง ยะปะเถตสะตะตัง นะระสิทธะ ยันติ สะระวะการะยานิ วิทยาวานะ ธะนะวานะ ภะเวตุ
คำแปล : บทสวดทั้งแปดโศลกนี้ ผู้ใดสวดเป็นประจำ ผู้นั้นจะได้รับปัญญา ทรัพย์สมบัติ และประสบความสำเร็จดั่งใจปรารถนาทุกประการ

บทต่อท้ายที่ 1. นะมัสเต พรหมรูปายะ วิษณูรูปายะเตนะมะ
นะมัสเต รูปายะ กริรูปายะ เตนะมะ คเณศะปูเนกรมะ ยันนะยูนะมะ ธิกังกะฤติ
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก เทพเจ้าซึ่งอยู่ในรูปช้าง อยู่ในรูปพระพรหม อยู่ในรูปพระวิษณุ อยู่ในรูปพระศิวะ

บทต่อท้ายที่ 2. เตนะสรเวนะ สะระวาตะมา ประสะนะโนสะตุ สะทามะมะ
คำแปล : และในการสวดบูชาต่อพระคณนายกครั้งนี้ ขอพระสรวาตมาพระพิฆเนศ ทรงประทานพรแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ

ท่านคึกฤทธิ์นำความรู้ความเห็นผิดๆ ของตน มาสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง อย่างน่าละอายที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น: