วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัตตานัง จาก "คึกฤทธิ์กถา สาวกทุพภาษิต"



ท่านคึกฤทธิ์ผู้กล่าวว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมของพระศาสดาแล้ว แต่มิได้ทำตนเป็นมรรคานุคา กลับแสดงธรรมอธิบายธรรมเอง บทความนี้ ข้าพเจ้าผู้ไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันลึกซึ้ง ประณีตของพระศาสดา ทำได้แต่เพียงเข้าเฝ้าพระองค์ผ่านพระไตรปิฎกเท่านั้น จะขอถามท่านคึกฤทธิ์ว่า “สัตตานัง” ของท่าน คืออะไร ท่านไปเอาที่ไหนมาอธิบายให้สาวกฟังเป็นตุเป็นตะ  

ท่านอธิบายว่า สิ่งที่ไปเกิดคือ สัตตานัง และอธิบายว่า สัตตานังคือสัตว์ที่เกาะขันธ์ห้าแล้วไปเกิด  ท่านเอาที่ไหนมา

ความจริงของพระสูตรนี้ ปรารภด้วยเรื่องพระสาติ กล่าวต่อชาวบ้านว่า ตนรู้ทั่วถึงธรรมพระตถาคต พระสาติแสดงต่อชาวบ้านว่า วิญญาณเป็นผู้ไปเกิด พระพุทธเจ้าจึงเรียกพระสาติมาพบ แล้วถามว่าจริงหรือ พระสาติตอบว่าจริงพระเจ้าข้า พระพุทธองค์จึงทรงสอบสวนความรู้ของพระสาติ ด้วยคำถามดังนี้ 

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี
ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า 
ดูกรโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี 

ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน./ พุทธพจน์


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระพุทธองค์ ทรงติเตียนพระสาติที่ตัดทอนถ้อยคำของพระองค์ไปสอนแก่ชาวบ้าน โดยตัดไปแต่เพียงคำว่า วิญญาณไปเกิด แต่ไม่ได้นำเอาคำสอนเรื่องปัจจัยที่ประชุมลงในวิญญาณนั้นไปสอนด้วย (ปฏิจสมุปบาท) ดังคำตรัสว่า "ดูกรโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี "

ต่อมาท่านคึกฤทธิ์อ่านพระพุทธพจน์นี้แล้วไม่เข้าใจ จึงได้สอนลูกศิษย์ลูกหาว่า สัตว์ที่จับขันธ์ห้านั่นหล่ะไปเกิด สัตว์ที่จับขันธ์ห้าคืออะไร ท่านคึกฤทธิ์ไม่ได้อธิบายให้ลูกศิษย์เข้าใจ แต่จบความงงของลูกศิษย์ด้วยคำว่า "สัตตานัง" ง่ายดี แล้วให้ลูกศิษย์จำวาทะกรรมว่า "สัตตานังเป็นผู้ไปเกิด" แบบผิดๆ

จริงๆ แล้วท่านคึกฤทธิ์ควรจะยกพระไตรปิฎกทุกพระสูตรมาอธิบายเป็นลำดับ มิใช่อธิบายเองว่าสัตตานังเป็นผู้ไปเกิด ถ้าคึกฤทธิ์จะอธิบายเป็นลำดับโดยพุทธวจนะ อย่างที่คึกฤทธิ์เอามาเป็นโลโก้ เขาต้องอธิบายด้วยพระสูตรตอบพระสูตร ดังนี้ 

วิญญาณที่ไปเกิดนั้นไปด้วยเหตุใด

ตอบ ด้วยปัจจัย ตามพุทธพจน์ว่า "วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี"

ปัจจัยนั้นคืออะไร ต้องเอาพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบพระอานนท์มาแสดงดังนี้

ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร

ดูกรอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า ชรามรณะ มีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่าชรามรณะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีชาติเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่าชาติมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า
ชาติมีอะไรเป็นปัจจัยเธอพึงตอบว่า มีภพเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า ภพมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า ภพมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีอุปาทานเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า อุปาทานมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีตัณหาเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า ตัณหามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า ตัณหามีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีเวทนาเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า เวทนามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีผัสสะเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า วิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่าวิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย

ดูกรอานนท์เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส 
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ / พุทธพจน์


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒  
ทีฆนิกาย มหาวรรค

ข้าพเจ้า
ขอตั้งคำถามว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีการตอบคำถามไว้หมดแล้ว เหตุใดพระคึกฤทธิ์จึงแต่งคึกฤทธิ์กถาแสดงธรรมเอง ยกตนเสมอด้วยพระศาสดาเล่า ท่านคึกฤทธิ์ต่างกับพระสาติตรงไหน 

สรุป สิ่งที่ไปเกิดคือ วิญญาณอันมีปัจจัย และปัจจัยแห่งการไปเกิดแห่งวิญญาณนั้น พึงยกขึ้นแสดงด้วยปฏิจสมุปบาท

ก็ปฏิจสมุปบาทนี้มิใช่หรือที่คึกฤทธิ์บอกให้สาวกสวด คาถาอื่นไม่เอา แล้วทำใมคึกฤทธิ์จึงไม่ยกปฏิจสมุปบาทขึ้นแสดงเล่า 

หลักฐานชัดๆ ท่านคึกฤทธิ์แปลงสาส์น กล่าวตู่พระศาสดา สร้างลัทธิบาลีโคกเข้ารกเข้าพง กรณีสัตตานัง (สตฺตานํ) พระสูตรนี้ไม่มีคำว่า "สตฺตานํ" เลยแม้แต่คำเดียว แล้วคึกฤทธิ์ไปเอามาจากไหน มาอธิบายว่า "สัตตานังเป็นผู้ไปเกิด" โดยพระสูตรนี้เริ่มที่ข้อ ๔๔๐-๔๔๒ ตามบาลีสยามรัฐที่ท่านคึกฤทธิ์ชอบอ้างทั้งๆ ที่อ่านไม่ออก แปลไม่ได้  สาธุชนทั้งหลายได้โปรดตรวจดู

[๔๔๐] เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ เตน โข ปน สมเยน สาติสฺส นาม ภิกฺขุโน เกวฏฺฏปุตฺตสฺส เอวรูปํ ปาปกํ ทิฏฺฐิคตํ อุปฺปนฺนํ โหติ ตถาหํ ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ยถา ตเทวิทํวิญฺญาณํ สนฺธาวติ สํสรติ อนญฺญนฺติ ฯ อสฺโสสุํ โข สมฺพหุลา ภิกฺขู สาติสฺส นาม ภิกฺขุโน เกวฏฺฏปุตฺตสฺส เอวรูปํ ปาปกํ ทิฏฺฐิคตํ อุปฺปนฺนํ ตถาหํ ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ยถา ตเทวิทํ วิญฺญาณํ สนฺธาวติ สํสรติ อนญฺญนฺติ ฯ อถ โข เต ภิกฺขู เยน สาติ ภิกฺขุ เกวฏฺฏปุตฺโต เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา สาตึ ภิกฺขุํ เกวฏฺฏปุตฺตํ เอตทโวจุํ สจฺจํ กิร เต อาวุโส สาติ เอวรูปํ ปาปกํ ทิฏฺฐิคตํ อุปฺปนฺนํ ตถาหํ ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ยถา ตเทวิทํ วิญฺญาณํ สนฺธาวติ สํสรติ อนญฺญนฺติ ฯ เอวํ พฺยา โข อหํ อาวุโส ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ยถา ตเทวิทํ วิญฺญาณํ สนฺธาวติ สํสรติ อนญฺญนฺติ ฯ อถ โข เต ภิกฺขู สาตึ ภิกฺขุํ เกวฏฺฏปุตฺตํ เอตสฺมา ปาปกา ทิฏฺฐิคตา วิเวเจตุกามา สมนุยุญฺชนฺติ สมนุคฺคาหนฺติ สมนุภาสนฺติ ปริยาเยน อาวุโส สาติ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ วิญฺญาณํ วุตฺตํ ภควตา อญฺญตฺร ปจฺจยา นตฺถิ วิญฺญาณสฺส สมฺภโวติ ฯ เอวมฺปิ โข สาติ ภิกฺขุ เกวฏฺฏปุตฺโต เตหิ ภิกฺขูหิ สมนุยุญฺชิยมาโน สมนุคฺคาหิยมาโน สมนุภาสิยมาโน ตเทว ปาปกํ ทิฏฺฐิคตํ ถามสา ปรามสฺส อภินิวิสฺส โวหรติ เอวํ พฺยา โข อหํ อาวุโส ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ยถา ตเทวิทํ วิญฺญาณํ สนฺธาวติ สํสรติ อนญฺญนฺติ ฯ

[๔๔๑] ยโต โข เต ภิกฺขู นาสกฺขึสุ สาตึ ภิกฺขุํ เกวฏฺฏปุตฺตํ เอตสฺมา ปาปกา ทิฏฺฐิคตา วิเวเจตุํ อถ เต ภิกฺขู เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทึสุ ฯ เอกมนฺตํ นิสินฺนา โข เต ภิกฺขู ภควนฺตํ เอตทโวจุํ สาติสฺส นาม ภนฺเต ภิกฺขุโน เกวฏฺฏปุตฺตสฺส เอวรูปํ ปาปกํ ทิฏฺฐิคตํ อุปฺปนฺนํ ตถาหํ ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ยถา ตเทวิทํ วิญฺญาณํ สนฺธาวติ สํสรติ อนญฺญนฺติ  อถ โข มยํ ภนฺเต เยน สาติ ภิกฺขุ เกวฏฺฏปุตฺโต เตนุปสงฺกมิมฺห อุปสงฺกมิตฺวา สาตึ ภิกฺขุํ เกวฏฺฏปุตฺตํ เอตทโวจุมฺห สจฺจํ กิร เต อาวุโส สาติ เอวรูปํ ปาปกํ ทิฏฺฐิคตํ อุปฺปนฺนํ ตถาหํ ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ยถา ตเทวิทํ วิญฺญาณํ สนฺธาวติ สํสรติ อนญฺญนฺติ เอวํ วุตฺเต ภนฺเต สาติ ภิกฺขุ เกวฏฺฏปุตฺโต อเมฺห เอตทโวจ เอวํ พฺยา โข อหํ อาวุโส ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ  โป. ม. สพฺพตฺถ ปรามสา ฯ  ม. อสฺสุมฺห โข มยํ ภนฺเต สาติสฺส กิร นาม #ภิกฺขุโน เกวฏฺฏปุตฺตสฺส เอวรูปํ ปาปกํ ... สํสรติ อนญฺญนฺติ ฯ


๔๔๒ โข สาตึ ภิกฺขุํ เกวฏฺฏปุตฺตํ ภควา เอตทโวจ สจฺจํ กิร เต สาติ เอวรูปํ ปาปกํ ทิฏฺฐิคตํ อุปฺปนฺนํ ตถาหํ ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ยถา ตเทวิทํ วิญฺญาณํ สนฺธาวติ สํสรติ อนญฺญนฺติ ฯ เอวํ พฺยา โข อหํ ภนฺเต ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ยถา ตเทวิทํ วิญฺญาณํ สนฺธาวติ สํสรติ อนญฺญนฺติ ฯ กตมนฺตํ สาติ วิญฺญาณนฺติ ฯ ยฺวายํ ภนฺเต วโท เวเทยฺโย ตตฺร ตตฺร กลฺยาณปาปกานํ กมฺมานํ วิปากํ ปฏิสํเวเทตีติ ฯ กสฺส นุ โข นาม ตฺวํ โมฆปุริส มยา เอวํ ธมฺมํ เทสิตํ อาชานาสิ นนุ มยา โมฆปุริส อเนกปริยาเยน ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ วิญฺญาณํ วุตฺตํ อญฺญตฺร ปจฺจยา นตฺถิ วิญฺญาณสฺส สมฺภโวติ อถ จ ปน ตฺวํ โมฆปุริส อตฺตนา ทุคฺคหิเตน อเมฺห เจว อพฺภาจิกฺขสิ อตฺตานญฺจ ขนสิ พหุญฺจ อปุญฺญํ ปสวสิ ตญฺหิ เต โมฆปุริส ภวิสฺสติ ทีฆรตํ อหิตาย ทุกฺขายาติ ฯ

เรื่องสัตตานัง จึงเป็นเรื่องที่ท่านจะต้องชี้แจง มิฉะนั้นจะเป็นอีกหนึ่งคำโกหกคำต่อของ พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล  ที่โกหกหลอกลวงประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น: