วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บาลีแบบพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล พุทธวจนสถาบัน เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง



ข้าพเจ้าได้ดูคลิปนี้แล้ว ข้าพเจ้าอดห่วงใยแม่กองบาลี แม่กองธรรม สมาคมเปรียญธรรม  พระเปรียญ  มหาเปรียญ  และที่อดห่วงที่สุดคือ พระสัทธรรมในประเทศไทยที่จะปฏิรูปเพราะคำแปลพระบาลีถูกปฏิรูป 

สกึ อ่านว่า สะ กิง เป็นนิบาต แปลว่า คราวเดียว 
เอว อ่านว่า เอ วะ  เป็นนิบาต แปลว่า นั่นเทียว  เมื่อศัพท์สองศัพท์รวมกันเป็น สกิเทว
แปลว่า คราวเดียวเท่านั้น

คำว่า “เทว” ที่เห็น ไม่ใช่เทวดา  แม้ศัพท์ว่า เทวดา จะมีรูปศัพท์ว่า เทว จริงดังท่านคึกฤทธิ์ว่า แต่ไม่ใช่ในกรณีสนธิศัพท์ หรือสมาสศัพท์เช่นนี้  คำว่า “เทว” นี้ จึงไม่ใช่ เทว ตามศัพท์เดิมที่แปลว่า เทวดา แต่คือ เอว (สกึ+เอว) ท่านคงเถียงข้าพเจ้าแน่ว่า เหตุใด จึงไม่เป็น สกึเอว เล่า  ก็เพราะมันเป็นศัพท์สนธิ  และท่านคงเถียงต่อว่า เหตุใดไม่เป็น สกิเอว เล่า ก็เพราะ เอว   เมื่อนำมาต่อกันแล้ว ต้องแปลงนิคหิตที่ สกึ (ตัวกลมๆ ที่อยู่บนสระอิ) เป็น ท เรียกว่า อาเทสนิคหิต เมื่อนำศัพท์มาสนธิ (เชื่อมกัน) อ จะหายไป จึงกลายเป็น สกิเทว (อ ที่ เอว หายไปเป็น เทว แทน ท นั้นมาจากการแปลงนิคหิตเป็น ท นั่นเอง ) 


วิธีการสนธิ  และหลักฐานว่า สกิเทว คือ สองศัพท์สนธิกัน







โหติ ไม่ใช่ แค่ มี, เป็น แต่แปลว่า ย่อมมี, ย่อมเป็น (ติแปลว่า อยู่, ย่อม, จะ) อยู่, ย่อม, จะ บอกความเป็นปัจจุบันกาล เหมือน is, am, are
เมื่อพบ ติ (is,am) อนฺติ (are) ท่านต้องแปลด้วย ท่านแปลภาษาอังกฤษอย่างไร ท่านก็แปลบาลีอย่างนั้น  แต่ท่านกลับไม่แปล  โหติ, โหนฺติ นี่ต่างหากที่แปลอย่างอื่นไม่ได้ ต้องแปลว่า "ย่อมเป็น" เช่น 
ททมาโน ปิโย โหติ แปลว่า ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก  / องฺ. ปญฺจก ๒๒/๔๔

อาคนฺตฺวา ท่านก็แปลผิดอีก สงสัยท่านคงเห็นว่า คล้ายๆ อาคันตุกะ (อาคนฺตุก) กระมั้ง เพราะท่านนิยมเทียบเอาคำคล้ายๆ ภาษาไทยเป็นคำแปล ตกลงท่านจะแปลบาลีเป็นไทย หรือมั่วไทยเป็นบาลีกันแน่หนอ

วิธีทดสอบไม่ยาก แค่ไปค้นหาคำแปลพระไตรปิฎกทั่วโลกว่า มีหรือไม่คำแปลอาคนฺตฺวา ว่า ผู้มาเยือน

ส่วนคำว่า เทฺว  อันนี้ อ่านว่า ทะ เว  แปลว่า  สอง  ท่านคึกฤทธิ์ออกเสียงได้ถูกต้อง เช่น เทฺววาจิก  แปลว่า มีวาจาสอง (กล่าวสองครั้ง)

ที่ข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าเป็นห่วงการปฏิรูปพระสัทธรรมภาษาไทยในประเทศไทยนั้น เพราะการสังคายนาพระไตรปิฎกนั้น  จะทำการสวดขึ้นพร้อมกันเป็นภาษาบาลี  ดังนั้น  ตัวพระสัทธรรมจึงไม่ถูกปฏิรูป  เหมือนคนท่องสูตรคูณ ถ้าใครท่อง สองสองแปด ทุกคนจะทราบว่าคนนั้นผิด  แต่จะทำการสอบทานกันให้แน่ใจว่า สองสองสี่ หรือสองสองแปดกันแน่ 
สำหรับประเทศไทย  ภาษาบาลีที่ใช้ในการสังคายนาพร้อมกันนั้น ได้ถูกนำมาแปลเป็นภาษาไทยให้คนไทยที่ไม่ได้เรียนบาลีอ่าน  ได้มี
โอกาสได้สดับพระสัทธรรมด้วยภาษาและตัวอักษรแม่ของตน  ในต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน ภาษาบาลีได้ถูกนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ ด้วยภาษาและตัวอักษรของแต่ละประเทศ เพื่อให้คนในประเทศที่ไม่ได้เรียนแปลภาษาบาลีได้เข้าใจ เมื่อท่านคึกฤทธิ์ปฏิรูปคำแปลบาลีเช่นนี้แล้ว ก็น่าห่วงว่า คำแปลพระพุทธวจนะในประเทศไทยจะถูกปฏิรูปทั้งหมด

ท่านคึกฤทธิ์ เพียงแต่ต้องการจะทำลายอรรถกถา จึงบัญญัติการแปลบาลีขึ้นใหม่ แล้วชี้บอกสาวกว่า  “นี่ไง อรรถกถาแปลผิด”  หนำซ้ำบางคลิปยังพูดว่า คนที่เรียนอรรถกถา พออรรถกถาผิดก็เงียบ ไม่เอามาพูด  แต่ตัวท่านคึกฤทธิ์เอง สามารถแบ่งแยกอรรถกถาได้หรือไม่ อรรถกถามีกี่รุ่น มีกี่ชั้น  ท่านเองยังเข้าใจว่า อรรถกถาไม่มีที่สิ้นสุด ความจริงแล้วไม่ใช่ อรรถกถาจบไปนานแล้ว ที่เหลือในยุคปัจจุบันแม้แต่ตัวท่านคึกฤทธิ์เอง ก็ไม่สามารถเป็นพระอรรถกถาจารย์ ไม่สามารถอรรถกถาได้

คำว่า “อรรถกถา แปลว่า คำอธิบาย”  ข้าพเจ้าจึงขอถามกลับไปว่า จริงหรือ ที่ท่านไม่เคยอธิบายพุทธวจนะเลย  ข้าพเจ้าจะได้นำคลิปไปถามท่านว่า ที่ท่านอธิบายแต่ละเรื่องที่มีโยมถาม ท่านอธิบายจากพระสูตรไหน


เมื่อวันก่อน ข้าพเจ้าเพิ่งได้ดูคลิปที่มีสตรีผู้หนึ่ง ชื่อ ธัญรัตน์  แก้วใส  กล่าวว่า ตนจบประโยค ๕  (เธอคงหมายถึง บาลีศึกษา ๕) เธอแปล อาคนฺตฺวา ว่า เสด็จไปแล้ว ซึ่งต่างจากท่านคึกฤทธิ์ ท่านคึกฤทธิ์กลับเออออห่อหมกตามเธอ ทำใมท่านไม่ท้วงเธอเล่าว่าเธอเรียนจนจบประโยคห้า แปลอาคนฺตฺวา ผิด ความจริงต้องแปลอย่างท่าน คือ "ผู้มาเยือน"  หรือว่าท่านลืมที่เคยมั่วมา 

คำว่าผู้มาเยือนนี้ แม้แต่โปรแกรม E Tipitaka ของท่าน ยังไม่ยอมรับเลย เด้งขึ้นมาว่า "ไม่มีในพระไตรปิฎกภาษาไทย"  อย่าว่าแต่ไปเทียบบาลีทั่วโลกเลย  จนข้าพเจ้าเหลือวิสัยที่จะใช้โปรแกรมของท่าน เทียบบาลีให้ท่าน 

ขนาดโปรแกรมของท่าน ยังรับการแปลผิดๆ ของท่านไม่ได้เลย  สาวกของท่านก็ช่างกระไร มีโปรแกรมพระไตรปิฎกให้สอบทานอยู่ในมือ ตามที่ท่านคุย (มีหลักฐาน) กลับนั่งฟังกันอ้าปากหวอ  ท่านทั้งหลายต้องอย่าลืมว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนไวยากรณ์บาลี แต่พระองค์ทรงใช้ภาษาบาลีเป็นปกติ   เหมือนเราใช้ภาษาไทย เหมือนฝรั่งใช้ภาษาอังกฤษ  แล้วท่านคึกฤทธิ์ไปใช้ภาษาบาลีเป็นปกติเหมือนใช้ภาษาไทยมาจากที่ไหนหนอ จึงไม่ต้องมานั่งเรียนไวยากรณ์บาลี  ขนาดเราจะพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษยังต้องเรียนไวยากรณ์อังกฤษเลย วิธีคิดสอบสวนง่ายๆ แค่นี้  น่าจะคิดกันได้ ถ้าในห้องเรียนทั้งห้องหนึ่งร้อยคนท่องสูตรคูณว่า สองสองสี่  แต่มีเพียงคนเดียวที่ท่องว่าสองสองแปด  สาวกท่านคึกฤทธิ์น่าจะตอบได้นะว่า  ใครท่องผิด  ๙๙ คน หรือ ๑ คน







อันคำว่า อาคนฺตฺวา นี้ ทั้งท่านคึกฤทธิ์และคุณธัญรัตน์ แปลผิดทั้งคู่ 

ความรู้บาลีเท่าตีนมดแดงของข้าพเจ้า ยังทราบว่า แปลผิด

เธอเรียกชื่อธาตุยังผิด คมฺธาตุ (คะ มะ ธาตุ) เธอเรียก คจฺฉธาตุ (คัจ ฉะ ธาตุ)
อาคนฺตฺวา (อ่านว่า อา คัน ตะ วา) เธอบอกว่าตนเรียนบาลีจนได้ประโยคห้า แปล "อาคนฺตฺวา" ผิด นี่เพราะโกหก ไม่ได้แปลซ้ำๆ จึงขาดทักษะ คนที่แปลซ้ำๆ จนจำได้ จะสามารถแปลศัพท์ง่ายๆ ที่ไม่ได้ถูกบังคับด้วยสมาสศัพท์ชั้นยากและคณะฉันท์ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลานึก และรูปศัพท์จะออกมาเองเป็นภาพในสมองเลยว่า คนฺตฺวา แปลว่า ไปแล้ว เมื่อเห็น อา อยู่ข้างหน้า ต้องแปลกลับความ จากไปเป็นมา จึงแปลว่า มาแล้ว เมื่อประธานในประโยคเป็น สตฺถา อ.พระศาสดา ต้องแปลคำว่า "เสด็จ" เข้าไปด้วย จึงแปลว่า เสด็จมาแล้ว ความรู้เท่าตีนมดแดงอย่างข้าพเจ้า ยังมีทักษะในการแปลคำง่ายๆ แบบนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาคิด

ก่อนฉัน-อาทิตย์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
ณ.วัดนาป่าพง ลำลูกกา คลอง ๑๐ ปทุมธานี

คุณธัญรัตน์ แก้วใส อ้างว่าสอบได้ประโยค ๕ แต่แปลบาลีผิด

วิธีการพิสูจน์คำแปลท่านคึกฤทธิ์นั้นไม่ยากเลย  เพียงแค่เอาไปเทียบกับคำแปลภาษาอังกฤษ หรือไปสนทนากับคนศรีลังกาที่รู้บาลีและพูดไทยได้ เข้าใจภาษาไทยได้ เพียงแค่ถามเขาด้วยคำสองคำว่า อาคนฺตฺวา แปลว่าอะไร กับ สกิเทว แปลว่าอะไร ก็ทราบแล้วว่าท่านคึกฤทธิ์ชัวร์หรือมั่วนิ่ม 

ถ้าข้าพเจ้าเป็นท่านคึกฤทธิ์ ข้าพเจ้าไม่กล้าแปลแบบนี้ ข้าพเจ้าอาย

ควรหรือไม่ ที่ท่านจะเอาภาษาพุทธวจนะ (ปาพจน์) มามั่วเล่นแบบนี้ 

ไม่มีความคิดเห็น: