วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความนำที่ ๒ คำสั่งพระศาสดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม  เวทัลละ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต  ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๑

จากพระสูตรนี้ พระศาสดาทรงสั่งความไว้ ให้สาวกของพระองค์ศึกษาให้ถ้วนทั้งสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก 
อัพภูตธรรม เวทัลละ

ข้าพเจ้าขอถามท่านคึกฤทธิ์ และสาวกของท่านที่มาอ่านบทความนี้ว่า สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ คืออะไร

ท่านทราบได้อย่างไรว่าอะไรคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษาแต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
             
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘  สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อาณิสูตร

จากพระสูตรดังกล่าวข้างต้น  ซึ่งพระคึกฤทธิ์ก็นำมาแสดงบ่อยๆ รวมถึงนำอุปมาด้วยตะโพนมาแสดงและตีความไปว่า ไม่ให้ฟังคำสาวกแบบเหมารวม ขาดการแยกแยะ ซึ่งอุปมาด้วยลิ่มที่ตอกเข้าในตะโพน ควรหรือไม่ที่จะตีความเช่นนั้น ในเมื่อพระศาสดาตรัสชัดอยู่ว่า  เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้

เขา ในที่นี้คือใคร ท่านตอบได้หรือไม่ ถ้าตอบไม่ได้ อ่านพระสูตรต่อไป

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระธรรมกถึก พระธรรมกถึก ดังนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ หากว่า ภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาดกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่าภิกษุธรรมกถึก. หากว่า ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. หากว่า ภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ธัมมกถิกสูตรที่ ๑

จากพระสูตรนี้  “เขา” ในที่นี้ หมายถึง พระธรรมกถึก  ซึ่งจะต้องแสดงธรรมอันเป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม  เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนด เพื่อจิตหลุดพ้น  องค์แห่งธรรมกถึก ๕ มีอะไร ข้าพเจ้าจะกล่าวในบทความต่อๆ ไป
ใครบ้างที่ปรากฏในพระไตรปิฎกว่าเป็นธรรมกถึก  ท่านตอบได้หรือไม่ ถ้าตอบไม่ได้ อ่านพระสูตรต่อไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทของเรานี้ปรากฏเหมือนว่างเปล่า เมื่อสารีบุตรและโมคคัลลานะยังไม่ปรินิพพาน สารีบุตรและโมคคัลลานะอยู่ในทิศใด ทิศนั้นของเราย่อมไม่ว่างเปล่า ความไม่ห่วงใยย่อมมีในทิศนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เหล่าใดได้มีมาแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้น ก็มีคู่สาวกนั้นเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น เหมือนกับสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เหล่าใด จักมีในอนาคตกาล พระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้น ก็จักมีคู่สาวกนั้นเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น เหมือนกับสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นความอัศจรรย์ของสาวกทั้งหลาย เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมาของสาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายจักกระทำตามคำสอน และกระทำตามโอวาทของพระศาสดาและจักเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพและสรรเสริญของบริษัท ๔ เป็นความอัศจรรย์ของตถาคต เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมาของตถาคต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เจลสูตร

จากพระสูตรนี้  ก็พระสารีบุตรด้วย พระโมคัลลานะด้วย ที่พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล กล่าวเรียกด้วยชื่ออย่างเดียว  เสมอด้วยพระพุทธเจ้าเรียก ทั้งๆ ที่ขณะนั้นสนทนากับโยม ไม่ใช่การยกพระสูตรขึ้นแสดงนั่นหล่ะ คือ พระธรรมกถึก ผู้ทรงคุณอนันต์แก่พุทธบริษัท  จนพระศาสดาตรัสว่า  สารีบุตรและโมคคัลลานะอยู่ในทิศใด ทิศนั้นของเราย่อมไม่ว่างเปล่า ความไม่ห่วงใยย่อมมีในทิศนั้น

พระสูตรส่งท้าย  ขอให้ท่านนำกลับไปพิจารณาการศึกษาธรรมของพวกท่านทั้งพระคึกฤทธิ์ และสาวกทั้งหลายของพระคึกฤทธิ์เถอะว่า เป็นไปตามคำพระศาสดาหรือไม่ ท่านกลับไปคิดดูให้ดีๆ สิ่งที่ท่านทำอยู่ทุกวันนี้ เพื่ออะไร เพื่อยกตนข่มคนอื่นว่าท่านรู้ทั่วถึงธรรมในพระพุทธวจนะที่คนอื่นไม่รู้ ด้วยการเสแสร้งแกล้งทำหวังดีใช่หรือไม่ ทั้งหมดคือทุกข์ ที่ท่านควรกำหนดรู้  สมุทัยคือเหตุที่ท่านควรละ ท่านจงใช้ปัญญาพิจารณาเถิดว่า ท่านควรรู้อะไร ละอะไร ทำอะไรให้เจริญ เพื่อให้เกิดอะไร และสุดท้าย ท่านทำสิ่งเหล่านั้นหรือยัง

ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟังสุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวกเธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น เป็นเวลานาน

ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดาเพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือเรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
มหาสุญญตสูตร