วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สกทาคามี เข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต พระคึกฤทธิ์จึงปลอมพุทธวจนะให้ตรงกับทิฏฐิตน

เรื่องราวที่น่าตกใจในโลกอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับพระคึกฤทธิ์ในขณะนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องพระคึกฤทธิ์แก้ไขพระสูตรในพระไตรปิฎกให้ตรงตามความคิดเห็นของตนเอง  โดยพระคึกฤทธิ์มีความคิดเห็นว่า สกิเทว แปลว่า เทวดาคราวเดียว จึงเข้าใจพระพุทธวจนะของพระศาสดาที่ตรัสว่า “อิมํ โลกํ อาคนฺตวา” ว่า หมายถึง “มาสู่เทวโลกนี้”  พระคึกฤทธิ์โดยพลการจึงได้แก้ไขคำแปลลงในเว็บไซด์และในหนังสือคู่มือโสดาบันของตนเอง  ปรากฏตามหลักฐานภาพถ่ายที่แนบ

ภาพถ่ายจากเว็บวัดนาป่าพง



ภาพถ่ายจากหนังสือคู่มือโสดาบัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๕๔



                            

เพราะพระคึกฤทธิ์ไม่ได้เรียนไวยากรณ์บาลี   จึงแปลบาลีไม่เป็น  และยังบอกสาวกตนเองว่า  “อาตมาใช้พระสูตรอธิบายพระสูตร”  จึงทำให้เหล่าสาวกของพระคึกฤทธิ์พากันปฏิเสธบาลีไวยากรณ์  โดยลืมไปว่า   พระสูตรที่ตนเองอ้างนำมาอธิบายนั้น ได้ผ่านการแปลตามหลักบาลีไวยากรณ์เช่นกัน
เหล่าสาวกพระคึกฤทธิ์ไม่เข้าใจประเด็น จึงพยายามอธิบายว่า อาจารย์ตนไม่ได้ผิดอะไร พร้อมทั้งยกพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรับรองบุคคลผู้ตายในโลกมนุษย์แล้วบรรลุสกทาคามีว่า ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต  เช่นในพระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ 
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต  หน้าที่ ๓๑๖/๔๐๗ ข้อที่ ๓๑๕

แท้จริงแล้ว เหล่าผู้คัดค้านการตีความบาลีของพระคึกฤทธิ์ไม่มีใครเลยแม้สักคนที่จะคัดค้านว่า พระสกทาคามีบุคคลเมื่อตายไปแล้วไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต  แต่ที่เขาค้านกันคือประเด็นที่พระคึกฤทธิ์แปลบาลีผิด ทำให้เข้าใจว่า พระสกทาคามีเมื่อไปเกิดยังเทวโลกแล้ว   จะปรินิพพานในเทวโลกนั้น ไม่กลับมาเกิดยังโลกมนุษย์อีก  ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง จนกระทั่งถึงปฏิเสธคำว่า "มาสู่โลกนี้ อีกเพียงครั้งเดียว"  (ตรงนี้พระคึกฤทธิ์ไม่สามารถแก้ตัวเป็นอย่างอื่นได้ เพราะถ้าไม่เข้าใจผิด จะต้องไปแก้ไขคำแปลให้สมกับที่ตนแปลสกิเทว ว่า เทวดาคราวเดียว ทำไม) เพราะไม่มีพระสูตรไหนเลยที่พระศาสดาจะตรัสรับรองว่า พระสกทาคามีจะปรินิพพานในเทวโลกนั้น ต่างกับบุคคลผู้ละสังโยชน์ ๕ (อนาคามี) ซึ่งพระศาสดาตรัสรับรองว่า จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา 
 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต 
ฌานสูตร


ความเข้าใจที่ผิด ทำให้พระคึกฤทธิ์กระทำการอันร้ายแรงด้วยการไปแก้ไขพระไตรปิฎกให้เป็นไปตามที่ตนเองพอใจ ทั้งๆ ที่กล่าวอ้างมาตลอดว่า ตนเองไม่ได้แก้ไขอะไร อีกทั้งทุกอย่างตนเองก๊อปมาจากห้าเล่มจากพระโอษฐ์ของท่านพุทธทาส 

เมื่อย้อนกลับไปดูแหล่งข้อมูลตามที่พระคึกฤทธิ์อ้างอิงตลอดมา พบว่า

ท่านพุทธทาสแปล  “อิมํ โลกํ อาคนฺตวา”  ว่า  “มาสู่โลกนี้”  เช่นเดียวกันกับฉบับหลวงและฉบับ มจร และ มมร







หลังจากที่พระคึกฤทธิ์นำพระสูตรมารับรองความคิด ความเชื่อของตนเองแพร่หลายออกไป และผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างช่ำชองจะเชื่อโดยสนิทใจ เพราะพระคึกฤทธิ์สามารถยกพระสูตรที่พระศาสดาตรัสว่า  สกทาคามีไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดุสิต  มาตบตาผู้ใหม่ในพุทธวจนะได้จริงๆ 

ตามหลักไวยากรณ์  การจะแปลว่า  “มาสู่เทวโลก”  ได้นั้น  พระบาลีที่พระศาสดาตรัสจะต้องเป็นพระพุทธวจนะว่า  “เทวโลกํ”  ปรากฎตามภาพถ่ายหลักฐานที่แนบ

ส่วน อิมํ โลกํ จะแปลว่า “เทวโลก”  เป็นไปไม่ได้เลย

จึงขอฝากคำถามถึงท่านทั้งหลาย ใช้วิธีคิดง่ายๆ  ถ้า อิมํ โลกํ  แปลว่า  เทวโลก  แล้ว  เทวโลกํ จะแปลว่าอะไร  ขอให้ลองช่วยแปลกันดู


บทความหน้า จะชี้ประเด็นตรรกะด้านภาษาไว้เป็นข้อสังเกตุของคำว่า "มาสู่เทวโลกนี้" ต่อไป






ไม่มีความคิดเห็น: