ข้าพเจ้าได้ดูคลิปซึ่งพระคึกฤทธิ์แปลและตีความ
"พาหิรกา สาวกภาสิตา" ผิดไป โดยยกระดับขึ้นใส่ความอรรถกา กล่าวหาว่าอรรถกถาขัดแย้งกันเอง
โดย
http://youtu.be/WIU3P2LX8Lk
นาทีที่ 3.12 พระคึกฤทธิ์บอกว่า
อรรถกถาขัดแย้งกันเอง เพราะในพระสูตร (อาณิสูตร) อรรถกถาอธิบายว่า พาหิรกา
สาวกภาสิตา คือ คำสาวกนอกศาสนา ส่วนในพระวินัยที่อธิบายเรื่องธรรมได้แก่อะไร
(พระวินัยปิฎกมหาวิภังค์ ภาค ๒ ข้อ ๒๘๖) กลับไปอธิบายว่า สาวกภาษิตคือภาษิตของสาวกในพระพุทธศาสนา
พระคึกฤทธิ์พูดไม่หมด
ถ้าใครไม่ตรวจสอบบาลีตามก็จะเชื่อพระคึกฤทธิ์ ที่ใส่ความอรรถกถา
เหตุที่สองแห่งอธิบายไม่ตรงกันเพราะ
ในอาณิสูตร มีบาลีว่า พาหิรกา แปลว่า ภายนอก กำกับไว้ จึงต้องแปลว่า
สาวกภาษิตนอกพระพุทธศาสนา ส่วนในพระวินัยไม่มีคำว่า พาหิรกา กำกับไว้ จึงไม่แปลว่า
ภายนอก พระอรรถกถาจารย์ท่านมิได้อธิบายขัดแย้งกันเอง
แต่พระคึกฤทธิ์ใส่ความท่านโดยบิดเบือนพระบาลี
อาณิสูตร
เย ปน เต สุตฺตนฺตา กวิกตา กาเวยฺยา
จิตฺตกฺขรา จิตฺตพฺยญฺชนา พาหิรกา สาวกภาสิตา เตสุ
ภญฺญมาเนสุ สุสฺสุสิสฺสนฺติ โสตํ
โอทหิสฺสนฺติ อญฺญาจิตฺตํ อุปฏฺฐาเปสฺสนฺติ เต จ ธมฺเม อุคฺคเหตพฺพํ
ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญิสฺสนฺติ ฯ จะเห็นว่ามีคำว่า พาหิรกา สาวกภาสิตา
ส่วนในพระวินัยนั้นไม่มีคำว่า
"พาหิรกา" โดยมีพระบาลีว่า ธมฺโม นาม พุทฺธภาสิโต สาวกภาสิโต อิสิภาสิโต เทวตาภาสิโต อตฺถุปสญฺหิโต
ธมฺมุปสญฺหิโต ฯ
ดังนั้น เมื่อพระบาลีไม่มีคำว่า พาหิรกา จึงไม่สามารถแปลให้เหมือนในอาณิสูตรว่า ภายนอก ได้
พระวินัยแปลไทยตามที่พระคึกฤทธิ์อ้างถึง
[๓๐๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า
ผู้ใด คือผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์
ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นผู้รู้เดียงสา
สามารถทราบถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ทุพภาษิตชั่วหยาบและสุภาพ.
บทว่า ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ คือ เกินกว่า
๕-๖ คำ.
ที่ชื่อว่า ธรรม
ได้แก่ถ้อยคำที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต เทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ
ประกอบด้วยธรรม.
พระคึกฤทธิ์จึงอธิบายผิด โดยมีเจตนาทำให้อรรถกถาขัดกันเพื่อให้ลงกับคำสอนของตัวเองที่สอนประชาชนว่า อรรถกถาคือคำแต่งใหม่ มีความขัดแย้งกัน อย่าไปฟัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น