วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หลักฐานชัดๆ พระคึกฤทธิ์การตัดคำพระพุทธพจน์และนำคำของตนเองใส่แทน กรณีเดรัจฉานวิชา


หลักฐานว่าคึกฤทธิ์และวัดนาป่าพง ตัดคำพระพุทธพจน์ของพระศาสดาออก แล้วใส่ความเห็นของตนลงไป ในเรื่องเดรัจฉานวิชา

สรุปอีกครั้ง อย่างง่าย

หลักฐานชั้นพุทธวจนะ 

เดรัจฉานวิชา คือ การเลี้ยงชีพผิดด้วย ทำนาย ปลุกเสก ปรุงยา ฯลฯ

การกระทำใดๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อเลี้ยงชีพผิดของภิกษุ ไม่ใช่เดรัจฉานวิชา แต่เป็น "วิชา" เช่น วิชาทำนาย วิชาดูยาม วิชาปรุงยา

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เลี้ยงชีพผิด ด้วยเดรัจฉานวิชา / ติรจฺฉานวิชฺชาย มิจฺฉาชีเวน" ไม่ได้ตรัสว่า "ทำเดรัจฉานวิชา"
 มิจฺฉาชีเวน แปลว่า เลี้ยงชีพผิด, เลี้ยงชีพโดยผิดทาง, เลี้ยงชีพโดยทางผิด ไม่ได้แปลว่า "ทำผิด" 
เลี้ยงชีพผิดกับทำผิดนั้นต่างกัน เพราะการทำโดยไม่เลี้ยงชีพก็มี หากจะตรัสถึงการทำ ก็จะทรงตรัสว่า "ทำ" ไม่ตรัสว่าเลี้ยงชีพ เช่น "ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว"

องค์ประกอบของเดรัจฉานวิชา คือ
๑. ภิกษุ
๒. เลี้ยงชีพผิด
๓. ด้วยเดรัจฉานวิชา มี ฯลฯ

ถ้าฆราวาสเลี้ยงชีพด้วยวิชาปรุงยาอย่างหมอชีวก สหายแพทย์ ศิษย์ของหมอชีวก ไม่เรียกว่า "เดรัจฉานวิชา" เพราะขาดองค์ประกอบในข้อเป็นภิกษุ ผลคือไม่ขวางทางนิพพาน เพราะท่านสามารถบรรลุโสดาบัน เป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพานได้

กรณีฆราวาสเลี้ยงชีพผิดด้วยการหลอกลวง เช่น  หลอกลวงดูดวง  หลอกลวงต่างๆ ไม่เรียกว่าเดรัจฉานวิชา เพราะเดรัจฉานวิชาจะมีได้เฉพาะในภิกษุเท่านั้น เนื่องจากภิกษุเป็นผู้เลี้ยงชีพด้วยการขอที่ชาวบ้านให้ด้วยศรัทธา หากใช้วิชาใดๆ ก็ตามเพื่อหาเลี้ยงชีพ จึงนับว่าเป็นการเลี้ยงชีพผิด ส่วนชาวบ้านที่เลี้ยงชีพผิดด้วยการหลอกลวง เรียกว่า “มิจฉาอาชีวะ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกงการล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภนี้มิจฉาอาชีวะ ฯ”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3846&Z=3923&pagebreak=0

ภิกษุ ถ้าใช้วิชา ฯลฯ โดยไม่เลี้ยงชีพด้วยวิชาเหล่านั้น ไม่เรียกว่าเดรัจฉานวิชา เพราะขาดองค์ประกอบในข้อเลี้ยงชีพผิด เช่น ภิกษุที่นำบาตรไม้ไปบดปรุงยาตามคำสั่งพระพุทธเจ้า และภิกษุผู้ปรุงยารักษากันตามพุทธานุญาต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทำลายบาตรไม้นั่น บดให้ละเอียด ใช้เป็นยาหยอดตาของภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ


สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยรากไม้ที่เป็นเภสัชชนิดละเอียด จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตัวหินบด ลูกหินบด."

[๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยยาผงที่กรองแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัตถุเครื่องกรองยาผง."

ภิกษุอาพาธมีความต้องการด้วยยาผงที่ละเอียด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองยา."


ดังนั้น การที่วัดนาป่าพงถามว่า "ถ้าภิกษุ ไม่เลี้ยงชีพผิด ก็สามารถทำเดรัจฉานวิชาได้หรือ"


คำถามนี้ไม่ถูกต้อง เพราะ ถ้าไม่เลี้ยงชีพผิด จะไม่เป็นเดรัจฉานวิชาเลย ไม่มีประเด็นว่าทำได้หรือไม่ได้แต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น: