สกิเทว กับพระคึกฤทธิ์ มหากาพย์รอบใหม่ ยังไม่จบ !!!
ความน่ารังเกียจของเรื่องนี้ที่สังคมรับไม่ได้
มิใช่อยู่ที่พระคึกฤทธิ์อธิบายผิด แปลผิด เพราะใครก็ผิดกันได้
แต่อยู่ที่ตนผิดแล้วดันไปใส่ความว่าเขาแปลผิดกันทั่วประเทศ
อุปมาเหมือนสุนัขยกขาฉี่ใส่ล้อรถ ฉะนั้น
พระคึกฤทธิ์ อธิบายเรื่อง สกิเทว ยืนยันว่าแปลว่าเทวดาคราวเดียว
โดยไหลรายวัน แจงสาวกผู้มีสุตตะน้อยด้วยการยกหลักฐานเรื่อง "อิสิทัตตะ"
ในมิคสาลาสูตร เล่มที่ ๒๒ ขึ้นแสดง แล้วกล่าวหา "ไอ้หนอน" ว่า
มันไม่รู้จักพระสูตรนี้
พระสูตรนี้ มิคสาลาอุบาสิกา เกิดความสงสัยว่า บิดาตนและอิสิทัตตะ
ประพฤติพรหมจรรย์ต่างกัน
เหตุไฉนพระผู้มีพระภาคจึงพยากรณ์ว่าเป็นพระสกทาคามีเข้าถึง (ไปเกิดอยู่)
บนสวรรค์ชั้นดุสิต เช่นเดียวกัน
และมิใช่เพียงแค่พระสูตรนี้ที่ท่านคึกฤทธิ์ยกขึ้นอ้างเพียงพระสูตรเดียวดอกท่าน
แม้แต่เรื่องลูกสาวของท่านอานาถบิณฑิกะเศรษฐี นามว่านางสุมนาเทวี ซึ่งบรรลุพระสกทาคามีก่อนตายลง
พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามีไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต เช่นกัน
(สาวกท่านคึกฤทธิ์เคยได้ยินเรื่องนี้หรือไม่)
เจอคำว่า สวรรค์ชั้นดุสิต เลยชี้ขาดว่า เทว ต้องแปลว่าเทวดาเท่านั้น
แปลเป็นอย่างอื่นไม่ได้
อิมํ โลกํ แปลว่า โลกเทวดา
รวมต้องแปลว่า เทวดาคราวเดียว
แล้วท่านก็ยกพระสูตรขึ้นอรรถกถาขยายความตามปัญญาตน
(เหยียดหยามพระอรรถกาจารย์เพื่อตนจะได้เป็นพระอรรถกถาจารย์เอง)
"บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ
เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน
ท่านทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต
บุรุษชื่ออิสิทัตตะผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน เป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
(แต่)ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขากระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า
เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต"
รวมถึงตั้งคำถามๆ แก่ชาวปริยัติว่า
ถ้าสกิเทวไม่ได้แปลว่าเทวดาคราวเดียว พระสกทาคามีเกิดอีกเพียงครั้งเดียว
หากไม่ได้เกิดในเทวโลก หาก "อิมํ โลกํ" ไม่ได้หมายถึงโลกของเทวดาแล้ว
พระสกทาคามีจะต่างกับพระโสดาบันเอกพีชีอย่างไร (ดูเป็นคำถามที่เป็นเหตุเป็นผลมาก
และน่าทึ่งมากสำหรับผู้ใหม่ในสุตตะ แบบอ่านพระสูตรเพียงไม่กี่ปี)
ท่านคึกฤทธิ์เอาอะไรมาเหมารวมว่า
พระสกทาคามีต้องไปเกิดในเทวโลกเท่านั้น
เพราะพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคมิได้พยากรณ์ว่าพระสกทาคามีไปเกิดในสวรรค์ชั้นใดเลยก็มี
เช่นใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เรื่อง "สุทัตตะอุบาสก"
"ดูกรอานนท์
ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ภิกษุณีชื่อนันทามรณภาพแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕
สิ้นไป"
"อุบาสกชื่อว่าสุทัตตะกระทำกาละแล้ว
เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง
มาสู่โลกนี้อีกคราวหนึ่งแล้ว จักกระทำที่สุดทุกข์ได้ อุบาสิกาชื่อว่าสุชาดากระทำกาละแล้ว
เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า."
พระสกทาคามี เมื่อไปเสวยบุญในเทวโลกแล้ว
พระสูตรไหนคือเครื่องยืนยันว่าพระสกทาคามีจะไม่กลับมายังโลกนี้ (โลกมนุษย์อีก)
จะปรินิพพานในเทวโลกนั้น ? (กรุณาอย่าเอาไปมั่วกับเทวดาฟังธรรมแล้วบรรลุอรหันต์ปรินิพพาน)
พระสกทาคามีต่างกับพระอนาคามี
ผู้ซึ่งพระศาสดายืนยันว่าจะปรินิพพานในพรหมโลก อย่างไร ?
แค่พระคึกฤทธิ์ตั้งคำถามว่า
พระสกทาคามีต่างจากโสดาบันเอกพีชีอย่างไรเพื่อหาความชอบธรรมให้กับเทวดาคราวเดียวของตน
ก็ผิดตั้งแต่การตั้งคำถามแล้ว
"เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ
ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ "
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ดังนั้น ถ้าสาวกพระคึกฤทธิ์จะทราบว่าพระคึกฤทธิ์รู้จริงหรือแค่มั่วนิ่ม
จงศึกษาตามประเด็นและพระสูตรเหล่านี้ดูเถิดจะเข้าใจ
สรุป สกิเทว แปลว่า เทวดาคราวเดียว ตามที่พระคึกฤทธิ์แปลนั้น
ผิดทั้งไวยากรณ์บาลี ผิดทั้งอรรถด้วยการพิสูจน์หลักฐานชั้นพุทธวจนะ
เมื่อศึกษาแล้วจะปักใจเชื่อการอธิบายผิดๆ เพี้ยนๆ ของพระคึกฤทธิ์อีกก็ตามสบาย
หรือจะขี้เกียจศึกษาแต่ขอเชื่ออย่างคนไร้ปัญญาก็ตามอัธยาศัย "ความโง่
ถ้าสมัครใจ ใครก็ห้ามไม่ได้"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น