สำคัญตนว่าเป็นพระอริยะ
ไม่เป็นไร จริงหรือ
พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง
สอนสาวกของตนเองตามแนวคิดของตนเองที่นำมาอธิบายข้ออรรถ ข้อธรรม ว่า หากเราสำคัญผิดว่าเป็นพระโสดาบันก็ไม่เป็นไร
เพราะเราจะทำตัวเหมือนพระโสดาบัน ไม่เป็นอันตรายกับใคร
ข้อนี้พระคึกฤทธิ์
กล่าวบิดเบือนคำพระศาสดา เพราะพระศาสดาไม่เคยตรัสอย่างนั้น
รวมถึงคำอธิบายของพระคึกฤทธิ์ขัดต่อหลักการในพระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรง
หลักการในพระพุทธศาสนาคือ
“วิปัสสนา” รู้ไปตามที่ตนเป็นจริง
ดังคำตรัสของพระผู้มีพระภาคปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ว่า
“เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่งาน ตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ
นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว
ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูกรพราหมณ์
แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง
ดูกรพราหมณ์
นี้แลคือปัญญานั้น.”
และปรากฏใน พระไตรปิฎก
เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
จิตมีราคะ
ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ
ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่
ก็รู้ว่าจิตหดหู่
จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
หรือจิตไม่เป็นมหรคต
ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ
ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น
ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดังพรรณนามาฉะนี้”
ดังนั้น
การที่พระคึกฤทธิ์ฯ สอนสาวกว่า ถ้าเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระโสดาบันก็ไม่เป็นไร
คำสอนเช่นนี้ขัดต่อคำสอนของพระศาสดาที่ทรงตรัสให้รู้ไปตามความเป็นจริงว่า
จิตของตนหลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้น
ในเรื่องนี้มีกรณีศึกษาของพระกัสสปให้เราได้ศึกษากัน
โดยเมื่อครั้งพระองค์ทรงเสด็จไปโปรดท่านกัสสปหนึ่งในชฎิลสามพี่น้อง
ซึ่งเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ ปรากฎในพระไตรปิฎกเล่มที่
๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ พระองค์ทรงตรัสว่า
“ดูกรกัสสป
ท่านไม่ใช่พระอรหันต์แน่ ทั้งยังไม่พบทางแห่งความเป็นพระอรหันต์
แม้ปฏิปทาของท่านที่จะเป็นเหตุให้เป็นพระอรหันต์ หรือพบทางแห่งความเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่มี”
ดังนี้แล้ว
การเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอริยะ จึงส่งผลให้สาวกวัดนาป่าพงภายใต้การอบรมสั่งสอนของพระคึกฤทธิ์เข้าใจผิดว่าตนเป็นพระอริยะนั้น
กลายเป็นพระอริเยอะ ยกระดับเป็นพระอริยุ่ง เกิดสักกายะทิฏฐิอย่างแรงกล้า
เกิดอติมานะคิดว่าตนเหนือกว่าคนทั้งปวง เที่ยวโพนทะนา เพ่งโทษ
ติเตียนทั้งพระและเพื่อนสหพรหมจรรย์ทั่วไป
โดยเข้าใจว่า ตน “เมตตา” สั่งสอนให้
เขาเหล่านั้น ขาดวิปัสสนา จึงไม่รู้ชัดถึงความขุ่นมัว ไม่พอใจ
ความซัดส่ายในจิตตนเมื่อปรากฏว่าผู้อื่นคิดเห็นหรือปฏิบัติไม่ตรงกับสิ่งที่ตนเองเข้าใจ
แม้พระที่ท่านปฏิบัติถูกแล้ว
แต่ความรู้ตนเองมีไม่ถึงที่จะวินิจฉัยก็เที่ยวไปเพ่งโทษติเตียนท่าน เกิดเป็นบาปเวร อย่างไม่รู้จบ รู้สิ้น
ท่านทั้งหลาย พิจารณาเอาเองเถิดว่า คำสอนของพระคึกฤทธิ์ฯ
เป็นคำสอนที่เข้าด้วยคำสอนของพระศาสดาหรือไม่อย่างไร
ทั้งหมดเกิดจากพระคึกฤทธิ์ฯ
ขาดความรู้ รู้ไม่ถ้วนในพระพุทธวจนะอย่างแท้จริง และใช้คำของตนเองอธิบายพระสูตร อธิบายพุทธวจนะ
แทนที่จะใช้พุทธวจนะอธิบายพุทธวจนะอย่างถูกต้องแท้จริง